ประกันสังคม และ fwd ประกันสุขภาพ แพ็คคู่ ประตูสุขภาพ2ชั้น

1070 Views  | 

fwd ประกันสุขภาพ

fwd ประกันสุขภาพ ยังจำเป็นไหม? ถ้าเรามี ประกันสังคม อยู่แล้ว จริงๆแล้วดีทั้งคู่ แต่ประกันสังคมเป็นสิทธิ จากรัฐบาล ซึ่งส่วนมากใช้บริการได้ตาม โรงพยาบาลของรัฐ หรือ เอกชนก็มีบ้าง เช่น เกษมราษฎร์ หรือ พญาไท (บางสาขาเท่านั้น) ประกันสุขภาพ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยกรณีเร่งด่วน เพราะบางครั้งการเจ็บป่วยบางโรคอาจรอไม่ได้ หรือ แม้กระทั่งยาที่ใช้ หากเป็นโรงพยาบาลเอกชน ก็จะมีราคาสูงตามคุณภาพที่สูงด้วย

เพราะสิทธิต่างๆของรัฐ จะใช้ยาในบัญชีแห่งชาติ ซึ่งอาจจะรักษาได้ไม่ครอบคลุม โดยเฉพาะยาพุ่งเป้าเพื่อรักษามะเร็ง จะเป็นยาที่ไม่ได้มีให้ฟรี หรือ ไม่มีราคาพิเศษ สำหรับสิทธิประกันสังคม บางคนรักษาสิทธิฟรีแล้ว อาจจะต้องซื้อยารักษามะเร็งเพิ่มอีก ในราคาที่แพงหูฉี่ การทำประกันเพิ่ม ที่เราแนะนำ สำหรับผู้ที่มีสวัสดิการประกันกลุ่ม หรือ ม.33 ม.39 เช่น ประกันออมเป็นมรดก และ ประกันสุขภาพ

fwd ประกันสุขภาพ อีกระดับของการรักษา ที่ครอบคลุม

ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ที่ผู้เอาประกัน จะได้รับจากบริษัทประกัน ตามวงเงิน และ เงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น ความคุ้มครองผู้ป่วยใน (IPD) ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) หรือ ความคุ้มครองโรคร้ายแรง โดยผู้ทำประกัน ต้องจ่ายเบี้ยประกัน ให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อแลกกับความคุ้มครองนี้

การตัดสินใจ ซื้อประกันสุขภาพ จึงถือเป็นเรื่อง การบริหารความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการเจ็บป่วย และ การสูญเงินเก็บ จากการนำไปรักษาตัว มากกว่าการที่จะคิดว่า ความคุ้มค่า คือ การที่ต้องป่วยจริงๆ เพราะไม่มีใครอยากป่วยหนัก ป่วยจนทำงานไม่ได้ หรือ ป่วยจนทำให้หมดแรงกายแรงใจ

เอฟดับบลิวดีมีแพ็กเกจ และ สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองสุขภาพ ที่เหมาะเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ดี เพราะมีให้เลือกทั้งความคุ้มครองครบ ทั้งผู้ป่วยใน (IPD) ความคุ้มครองผู้ป่วยนอก (OPD) และ โรคร้ายแรงต่างๆ รวมไปถึงโรคอุบัติใหม่ ไม่ว่าป่วยหนัก หรือ ป่วยเบาครอบคลุมทุกค่ารักษา คลิกที่นี่

แผนประกันสุขภาพfwd มีให้เลือก 2แบบ

กดที่รูปเพื่ออ่านรายละเอียด และ โหลfโบรชัวร์ ซึ่งทั้ง 2แบบ สามารถ fax claim หรือ ไม่ต้องสำรองจ่าย ได้

 ซื้อได้ที่ตัวแทน

  . 

ประกันสังคม และ ประกันสุขภาพ มีความต่างอย่างลงตัว

โรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลของรัฐตามที่ได้ทำการเลือกไว้เท่านั้น (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินสามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล) สามารถย้ายประกันสังคม หรือ เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ปีละ 1 ครั้งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคมของทุกปีผ่านทางเว็บของ ปสป.

ในขณะที่ผู้ทำประกันสุขภาพ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องโรงพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษา สามารถเข้ารักษาที่ไหนก็ได้ ตามรายชื่อโรงพยาบาลในเครือข่าย ของบริษัทประกัน และ หากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลนอกเครือข่ายก็ยังสามารถทำได้แต่อาจต้องมีการออกค่าใช้จ่ายไปก่อนแล้วค่อยมาทำเรื่องยื่นเคลมกับบริษัทประกันอีกครั้ง (เงื่อนไขความคุ้มครองตามที่แบบประกันกำหนด)

ความคุ้มครองค่ารักษาผู้ป่วยนอก (OPD) กองทุนประกันสังคม จะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องมีความตามจำเป็น และ เห็นสมควรในกรณีที่ผู้ประกันตนเข้ารักษา ในโรงพยาบาลของรัฐตามที่ได้เลือกไว้ หากเข้ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน จะจ่ายให้ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท

ข้อดีของการมีประกันสุขภาพ + ประกันสังค

ประกันสุขภาพfwd เลือกรูปแบบการคุ้มครอง ได้ด้วยตัวเอง เลือกวงเงินค่ารักษาพยาบาล ได้ตามต้องการ หรือ เลือกรับความคุ้มครองเฉพาะ โรคร้ายแรง ก็ยังได้ เบาใจเรื่องค่ารักษา เจ็บป่วยตอนไหน ก็รักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ และ สะดวกได้ทันที เพิ่มโอกาสในการเข้ารับการรักษาที่รวดเร็วกว่า

เบี้ยประกันสุขภาพ นำไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท อาจมีเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร จะเห็นได้ว่าการมี “ประกันสุขภาพ” ควบคู่ไปกับ “ประกันสังคม” ยังจำเป็นอยู่เพราะสิทธิการรักษาของประกันสังคมนั้น มีเงื่อนไขจำกัด การมีประกันสุขภาพติดตัวเพิ่มเติม จากสิทธิประกันสังคมที่มี จึงเหมือนคุณล็อคประตูป้องกันสุขภาพ ไว้ 2 ชั้นนั่นเอง
เครดิตเนื้อหาบางส่วนจาก fwd thailand

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy