ค่ารักษาประกันสุขภาพ และอุบัติเหตุกับโรคร้ายแรง ต่างกันยังไง

621 Views  | 

ค่ารักษาประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ เมื่อซื้อกับ บริษัทประกันชีวิต ผ่านตัวแทน จะเป็นสัญญาเพิ่มเติม ซึ่งแต่ละบริษัท ก็จะกำหนดจำนวนทุนประกัน ที่ต่างกันเล็กน้อย แต่อยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน ค่ารักษาประกันสุขภาพ จะเป็นการเบิกจ่าย(เคลม) ให้กับโรงพยาบาล ส่วนเกินต่างๆ เอาไว้คุ้มครองต่อ ในการรักษาครั้งถัดไป 

สำหรับการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล สามารถเบิกค่ารักษาแบบ แฟ็กซ์เคลม (fax claim) ได้ กรณีที่รักษาตัว ที่โรงพยาบาลในเครือ สำหรับโรงพยาบาลในเครือ fwd กดค้นหาได้ที่นี่

ค่ารักษาประกันสุขภาพ เคลมอย่างไร?

มีวิธีการจ่าย อยู่ 2รูปแบบคือ การสำรองจ่ายไปก่อน แล้วมาเคลมตามบิล แต่การจ่ายต้องดูเงื่อนไข ของแผนประกันที่ทำไว้ว่าเป็นแบบไหน ที่สำคัญมีค่าห้อง ค่าต่างๆ ที่กำหนดไว้เท่าไหร่ รวมไปถึง ทำประกันสุขภาพ เอาไว้กี่บริษัท โดยจะใช้เวลาประมาณ 3-10วัน( ตามประสบการณ์ส่วนตัว) หากเบิกเราแนะนำให้เบิก แบบไม่มีความรับผิดชอบส่วนแรกก่อน หากไม่พอ ให้ตั้งเบิกสินไหมกับประกันแผนที่มีความรับผิดชอบส่วนแรกเพิ่ม ความรับผิดชอบส่วนแรกคืออะไร กดอ่านเพิ่มเติม

การเคลมอีก อีกรูปแบบและได้รับความนิยมมาก คือ การ ไม่ต้องสำรองจ่าย (แฟ็กซ์เคลม) จำเป็นต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลในเครือ โดยการยื่นเอกสาร ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เมื่อยื่นบัตรประกัน หรือ บัตรประจำตัวประชาชน เจ้าหน้าที่ธุรการ จะดำเนินเรื่องและทราบรูปแบบประกัน ของคนไข้ได้ทันที การอนุมัติอาจจะต้องรอ 20-30นาที เนื่องจากแต่ตะเคส แต่ละการเจ็บป่วย ไม่ได้การันตีว่าจะสามารถแฟ็กซ์เคลมได้ทุกเคส ดังนั้น จำเป็นต้องดูว่า โรคที่เป็น หระวัติการรักษา และ องค์ประกอบอื่นๆร่วม

ขั้นตอนจ่ายประกันอุบัติเหตุ และ การเคลม

อุบัติเหตุ เป็นประกันที่คนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยเห็นความสำคัญ แต่เป็นสิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ทุกวินาที แผนแบบนี้เบี้ยจะไม่แพงมาก แต่มีทุนประกันที่คุ้มค่า เพราะของ FWD จะจ่ายเงินก้อนให้กับผู้ทำประกัน เป็นเงินตั้งตัว ตั้งหลัก ไม่ได้จ่ายให้โรงพยาบาล เมื่อออกจากโรงพยาบาล สามารถเคลมได้ โดยการเอกสารประกอบเพื่อเคลมสินไหมดังนี้

  • เอกสารต้นฉบับ
    ใบรายงานแพทย์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลการตรวจร่างกาย จากแพทย์ผู้ตรวจ ซึ่งอาจเขียนด้วยมือหรือพิมพ์ก็ได้
    ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลต้นฉบับ ที่แสดงข้อมูลสรุปรายการรักษาและค่าใช้จ่าย ซึ่งลงนามรับรองโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
  • เอกสารรับรองสำเนาถูกต้อง
    สำเนาบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดี ที่ได้รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ (เฉพาะกรณีอุบัติเหตุ)
    ฟิล์มและผลอ่านฟิล์ม กรณีกระดูกแตกหัก หรือใบรับรองผลการตรวจจากแพทย์
  • เอกสารสำเนา
    สำเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร ที่แสดงชื่อเจ้าของบัญชีและหมายเลขบัญชี กรณีต้องการให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร

CI 50โรคร้ายแรง วิธีจ่าย และ เคลมสินไหม

โรคร้ายแรง ก็มีการจ่าย เหมือนอุบัติเหตุ คือ ให้เงินก้อนแก่ผู้ทำประกัน ซึ่งทั้ง 2แบบนี้ เหมาะกับผู้ที่มีประกันสังคม หรือ มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว แต่กลัวเงินที่มีอยู่ จะไม่พอกับการรักาาตัวที่บ้าน เพราะการได้เงินก้อน จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วยได้ดีมาก 

การจ่าย จะจ่ายแบบไม่จบ คุ้มครองโรคร้ายแรง โรคแทรกซ้อนอื่นๆได้อีก ซึ่งจะจ่ายให้ 20% สำหรับโรคที่มีระยะ ได้แก่กลุ่มโรค มะเร็ง สมอง และ หัวใจ และ ยังเหลืออีก 80% ของทุนประกัน ก็คุ้มครองไปอีกจนกว่าจะครบสัญญา ci50 เป็นสัญญาเพิ่มเติมด้านสุขภาพ เป็นการซื้อทิ้งปีต่อปี เบี้ยจะปรับทุกปี หากผู้ทำประกันรู้สึกว่าเริ่มหนักไป ก็สามารถยกเลิกได้เมื่อครอบรอบปีกรมธรรม์ 

เอกสารการยื่นเคลม เมื่อออกจากโรงพยาบาล
  • เอกสารรับรองสำเนาถูกต้อง
    รายงานผลการตรวจรักษาทางการแพทย์ เช่น ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ รายงานผลชิ้นเนื้อ และผลการตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT/MRI) ซึ่งรับรองโดยโรงพยาบาล
  • เอกสารสำเนา
    ใบรับรองแพทย์ ซึ่งระบุผลการตรวจรักษาโดยแพทย์ อาจเขียนด้วยมือหรือพิมพ์ก็ได้

คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับการเคลมอุบัติเหตุ และ โรคร้ายแรง

 

เราจะชดเชยค่าสินไหมอย่างไร?
ในกรณีที่การเรียกร้องสินไหมได้รับการอนุมัติแล้ว บริษัทฯ จะจ่ายเงินค่าสินไหมผ่านช่องทางที่ระบุไว้ในเอกสารคำร้อง

 

เราจะชดเชยค่าสินไหมเมื่อไหร่?
บริษัทฯ จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารคำร้องและเอกสารประกอบครบถ้วน

 

ทำอย่างไรให้ได้รับเงินค่าสินไหมเร็วขึ้น?
เลือกช่องทางรับเงินคืนเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของคุณแทนการรับเช็คทางไปรษณีย์

 

จะทำอย่างไรหากต้องการสอบถามเกี่ยวกับการจัดการพิจารณาจ่ายค่าสินไหม?
เรายินดีให้ความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามหรือคำถามที่คุณอาจจะมี เพียงติดต่อ fwd call center 1351

เนื้อหาข้อเท็จจริงบางส่วนมาจาก FWD Thailand

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy