972 Views |
การระบุผู้รับประโยชน์ จากการทำ ประกันชีวิต จะว่าไปก็คล้ายๆ กับการทำพินัยกรรม ที่ทำการระบุว่า ทรัพย์สินของคุณ จะยกให้ใคร หากเกิดเรื่องไม่คาดคิดขึ้น กับตัวคุณเอง การระบุผู้รับประโยชน์ และ สัดส่วนที่จะได้รับจึงถือเป็นการวางแผนจัดการเรื่องเงินๆ ทองๆ ให้เรียบร้อยนั่นเอง
ผู้รับประโยชน์ (Beneficiary) คือ บุคคลที่ผู้เอาประกันระบุไว้ว่าจะมอบประโยชน์ให้หากผู้เอาประกันเสียชีวิต โดยสามารถเลือกผู้รับประโยชน์ได้หลายคน และกำหนดสัดส่วนที่ได้รับในอัตราส่วนที่ต่างกันก็ได้ ส่วนมากมักเป็นบุตร คู่สมรส หรือพ่อแม่ และ สามารถเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์ได้ เงื่อนไขตาม คปภ กดที่นี่
ผู้เอาประกันที่แต่งงานแบบไม่ได้จดทะเบียนสมรส สามารถระบุคู่สมรสเป็นผู้รับประโยชน์ได้ โดยต้องแสดงเอกสารหรือทำหนังสือรับรองความสัมพันธ์ระหว่างผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์ให้กับบริษัทประกัน
การระบุตัวผู้รับประโยชน์เหมือนการชี้เป้า ให้บริษัทประกันรู้ถึงความตั้งใจจริงของผู้เอาประกัน หากประกันฉบับนั้นไม่มีการระบุผู้รับประโยชน์ไว้ ทุนประกันหรือเงินที่ทายาทจะได้รับกรณีเสียชีวิต จะตกไปอยู่ที่ “กองมรดก” ของผู้เอาประกัน เพื่อนำไปจัดสรรตามพินัยกรรมต่อไป
หากผู้เอาประกันไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ก็จะไปหล่นที่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย ซึ่งขั้นตอนนี้ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากต้องมีการดำเนินการทางเอกสาร รวมทั้งอาจจะต้องยื่นเรื่องต่อศาลให้ระบุ “ผู้จัดการมรดก” เพื่อมาดำเนินเรื่องเงินๆ ทองๆ รวบรวมมรดกทั้งหมด รวมถึงชำระหนี้สินแทนผู้เอาประกันที่เสียชีวิตไปแล้ว
ลูกค้าเอฟดับบลิวดี ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ได้สูงสุดถึง 4 คน และกำหนดสัดส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ด้วยตัวเอง ผ่านบริการออนไลน์ คลิกที่นี่
ผู้เอาประกันสามารถแจ้งบริษัทประกันเพื่อเปลี่ยนตัวผู้รับประโยชน์ได้ แต่หากไม่มีการแจ้งใดๆ ผลประโยชน์จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี
หากระบุชื่อผู้รับประโยชน์และสัดส่วนที่ได้รับ สัดส่วนของผู้รับประโยชน์ ที่เสียชีวิตไปจะตกไปอยู่ที่กองมรดกของผู้เอาประกัน
หากผู้เอาประกันระบุชื่อผู้เอาประกันแต่ไม่ได้ระบุสัดส่วนการรับผลประโยชน์ บริษัทประกันจะเฉลี่ยผล ประโยชน์ ให้แก่ผู้รับประโยชน์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในจำนวนเท่าๆ กัน
ลูกค้าเอฟดับบลิวดี เปลี่ยนชื่อผู้รับประโยชน์ได้เอง ผ่านบริการออนไลน์ คลิกที่นี่
ในวันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตและมีกรมธรรม์หลายฉบับ ผลประโยชน์จะเป็นไปตามที่ผู้เอาประกันได้ระบุไว้ในประกันฉบับนั้นๆ โดยครอบครัวต้องเตรียมเอกสารเพื่อประกอบ การเรียกร้องสินไหมมรณะกรรม ดังนี้
เล่มกรมธรรม์ประกันชีวิต
สำเนาใบมรณบัตร รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้รับประโยชน์
สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกัน รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้รับประโยชน์
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันที่มีการจำหน่าย "ตาย" เรียบร้อยแล้ว รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้รับประโยชน์
สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับประโยชน์
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับประโยชน์
สำเนาบันทึกประจำวัน / สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือแพทย์ชันสูตร กรณี เสียชีวิตโดยเหตุผิดธรรมชาติ เช่น อุบัติเหตุ ถูกฆาตกรรม ฆ่าตัวตาย ถูกสัตว์ทำให้ตาย ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
จากนั้นกรอกแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมมรณะกรรม ดาวโหลดแบบฟอร์ม คลิกที่นี่ และ ครอบครัวต้องยื่นเอกสารทั้งหมดพร้อมแบบฟอร์ม ด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ที่บริษัทประกันชีวิต หรือ ติดต่อตัวแทน เพื่อช่วยส่งเอกสารได้
ที่มาของเนื้อหาดีๆจาก FWD